เมนู

สังฆเภทักขันธกวรรณนา


วินิจฉัยในสัฆเภทักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อภิญฺญาตา อภิญฺญาตา มีความว่า อมาตย์ 10 คน
มีกาฬุทายีอมาตย์เป็นต้น พร้อมด้วยพวกบริวารและชนเป็นอันมากเหล่าอื่น
ชื่อศากยกุมารผู้ปรากฏแล้ว ๆ.
บทว่า อมฺหากํ คือในเราทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า
จากสกุลของเราทั้งหลาย.
สองบทว่า ฆราวาสตฺถํ อนุสิสฺสามิ มีความว่า กิจอันใดเธอพึง
ทำในฆราวาส พี่จักให้ทราบกิจนั้น.
บทว่า อติเนตพฺพํ คือ พึงไขน้ำเข้า.
บทว่า นินฺเนตพฺพํ มีความว่า น้ำจะเป็นของเสมอกันในที่ทั้งปวง
โดยประการใด พึงให้โดยประการนั้น.
บทว่า นิทฺทาเปตพฺพํ คือ พึงดายหญ้า.
สองบทว่า ภุสิกา อุทฺธราเปตพฺพา มีความว่า ธัญชาติที่ปน
กับฟางละเอียด พึงคัดออกแม้จากฟาง.
บทว่า โอผุนาเปตพฺพํ มีความว่า พึงยังลมให้ถือเอา (พึงให้ลม
พัด) เพื่อฝัคโปรยหญ้าและฟางละเอียดออก.
ข้อว่า เตนหิ ตฺวญฺเญว ฆราวาสตฺเถน อุปชานาหิ มีความ
ว่า ท่านนั่นแลพึงทราบเพื่อการครองเรือน.
ในคำว่า อหํ ตยา ยถาสุขํ ปพฺพชาหิ นี้ พึงทราบเนื้อความ
ดังนี้ :-

อนุรุทธศากยะเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวโดยเร็ว ด้วยความรักในพระ -
สหายว่า เรากับท่านจักบวช เป็นผู้มีหฤทัยอันความโลภสิริราชสมบัติที่เหนี่ยว
รั้งไว้อีก กล่าวได้แต่เพียงว่า เรากับท่าน เท่านั้นแล้วไม่สามารถกล่าวคำที่เหลือ.
บทว่า นิปฺปาติตา มีความว่า กุมารทั้งหลาย อันอุบาลีนี้ให้ออก
ไปแล้ว .
บทว่า มานสิสิโน มีความว่า พวกหม่อนฉัน เป็นคนอันมานะ
อาศัยอยู่, มีคำอธิบายว่า พวกหม่อมฉันเป็นคนเจ้ามานะ.
ในบทว่า ปรทตฺตวุโต นี้มีความว่า ชื่อผู้เป็นไปด้วยปัจจัยอันชน
อื่นให้ เพราะเป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยอันผู้อื่นให้.
บาทแห่งคาถาว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา มีความว่า กิเลส
เครื่องยังจิตให้กำเริบทั้งหลาย ชื่อว่าไม่มีในจิตของผู้ใด เพราะเหตุว่า ความ
โกรธนั้น เป็นกิเลสอันมรรคที่ 3 ถอนเสียแล้ว.
ก็เพราะสมบัติชื่อว่าภวะ, วิบัติชื่อว่าวิภวะ, อนึ่ง ความเจริญชื่อว่าภวะ
ความเสื่อมชื่อว่าวิภวะ. ความเที่ยงชื่อว่าภวะ ความขาดสูญชื่อว่าวิภวะ. บุญ
ชื่อว่าภวะ, บาปชื่อว่าวิภวะ. คำว่า วิภวะ และ อภวะ นี้ เป็นอันเดียว
กันโดยใจความแท้; เหตุนั้นในบาทแห่งคาถาว่า อิติ ภวาภวตญฺจ วีติวตฺโต
นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้แลว่า ความมีและความไม่มี มีประการอย่างนั้น
คือ มีประการหลากหลายนั่นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจสมบัติ
และวิบัติ, ความเจริญและความเสื่อม, ความเที่ยงและความขาดสูญ, บุญและ
บาป ผู้นั้นก้าวล่วงความมีและความไม่มี มีประการอย่างนั้น ๆ โดยนัยนั้น
ตามสมควรแก่เหตุ ด้วยมรรคแม้ 4.
บทว่า นานุภวนฺติ มีความว่า ย่อมไม่สามารถ, อธิบายว่า การ
เห็นบุคคลนั้น แม้เทวดาทั้งหลาย ก็ได้ด้วยยาก.

บทว่า อหิเมขลิกาย คือ พันงูไว้ที่สะเอว.
บทว่า อุจฺฉงฺเค ได้แก่ ที่อวัยวะทั้งหลาย.
บทว่า สมฺมนฺนติ ได้แก่ นับถือ.
หลายบทว่า ยํ ตุโม กริสฺสติ มีความว่า เขาจักกระทำซึ่งกรรมใด.
ในคำว่า เขฬสโก นี้ มีความว่า เทวทัต อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ผู้กินน้ำลาย เพราะคำอธิบายว่า ปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยมิจฉาชีพ อัน
พระอริยทั้งหลายพึงคายเสีย เป็นเช่นกับน้ำลาย, เทวทัตนี้ ย่อมกลืนกินซึ่ง
ปัจจัยเห็นปานนั้น.
สองบทว่า ปตฺถทฺเธน กาเยน มีความว่า มีกายแข็งทื่อคล้ายใบ
ลาน. เทวทัต เมื่อจะยกตนเองโดยสภาพที่เป็นพระญาติของพระราชาว่า พระ-
ราชาทรงรู้จักเรา จึงกล่าวว่า มยํ โข ภเณ ราชญาตกา นาม.
บทว่า ปหฏฺฐกณฺณวาโล มีความว่า ช้างนาฬาคีรีกระทำหูทั้ง 2
ให้หยุดนิ่ง.
บทคาถาว่า ทุกฺขํ หิ กุญฺชร นาคมาสโท มีความว่า กุญชร
ผู้เจริญ ชื่อว่าการเข้าใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ไม่ยินดีด้วยจิตคิดฆ่า
เป็นทุกข์.
บทว่า นาคหตสฺส มีความว่า สุคติของบุคคลผู้ฆ่าพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐ ย่อมไม่มี.
สองบทว่า ปฏิกุฏิโต ปฏิสกฺกิ มีความว่า ช้างนาฬาคิรี บ่ายหน้า
ไปหาพระตถาคตแล้ว ย่อลงด้วย 2 เท้าหน้า.
ในบทว่า อลกฺขิโก นี้ มีความว่า เทวทัตนี้ย่อมไม่กำหนด. อธิบาย
ว่า ย่อมไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่กำหนดเทวทัตย่อมไม่รู้ว่า เราทำ

กรรมลามกอยู่. เทวทัตนั้น อันใคร ๆ ไม่พึงกำหนดหมายได้ อธิบายว่า อัน
ใคร ๆ ไม่พึงเห็น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันใคร ๆ กำหนดไม่ได้ (ว่า
ลามกเพียงไร).
ในบทว่า ติกโภชนํ นี้ มีความว่า โภชนะอันชน 3 คนพึงบริโภค.
สองบทว่า ตํ ปณฺญาเปสฺสามิ มีความว่า เราจักอนุญาตติกโภชนะ
นั้น . แต่ในคณโภชนะ ภิกษุต้องทำตามธรรม.
บทว่า กปฺปํ ได้แก่ อายุกัลป์หนึ่ง.
บทว่า พฺรหฺมปุญฺญํ ได้แก่ บุญอันประเสริฐที่สุด.
สองบทว่า กปฺปํ สคฺคมฺหิ ได้แก่ อายุกัลป์ หนึ่งนั่นเอง.
หลายบทว่า อถ โข เทวทตฺโต สงฺฆํ ภินฺทิตฺวา มีความว่า
ได้ยินว่า เทวทัตนั้น ครั้นให้จับสลากอย่างนั้นแล้ว ทำอุโบสถแผนกหนึ่ง ใน
กรุงราชคฤห์นั้นนั่นแลแล้วจึงไป ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้ง-
หลาย จึงกล่าวคำนี้ว่า อถ โข เทวทตฺโต เป็นอาทิ.
หลายบทว่า ปีฏฺฐิ เม อาคิลายติ มีความว่า หลังของเรา ย่อม
เมื่อย เพราะมีเวทนากล้า ด้วยการนั่งนาน.
หลายบทว่า ตมหํ อายมิสฺสามิ มีความว่า เราจักเหยียดหลังนั้น.
ความรู้จิตของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่าน
เป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ แล้วแสดงธรรมพอเหมาะเจาะแก่จิตของผู้อื่นนั้น ชื่อ
ว่า การพร่ำสอนมีการดักใจเป็นอัศจรรย์.
บทว่า มมานุกุพฺพํ มีความว่า เมื่อทำกิริยาเลียนเรา.
บทว่า กปโณ ความว่า ถึงทุกข์แล้ว .
บทว่า มหาวราหสฺส ความว่า เมื่อพญาช้าง.
บทว่า มหึ วิกุพฺพโต ความว่า ทำลายแผ่นดิน.

สองบทว่า ภึสํ ฆสานสฺส ความว่า เคี้ยวกินเหง้า (บัว).
ในคำว่า นทีสุ ชคฺคโต นี้ มีเนื้อความว่า ได้ยินว่า พญาช้าง
นั้น เมือลงสู่สระโบกขรณี อันมีนามว่า นที นั้น เล่นอยู่ในเวลาเย็น ชื่อ
ว่ายังราตรีทั้งปวงให้ผ่านไป คือทำความเป็นผู้ตื่น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เล่นอยู่ในน้ำ.

[ว่าด้วยองค์แห่งทูตเป็นต้น]


บทว่า สุตา ได้แก่ ผู้ฟัง.
บาทคาถาว่า อสนฺทิทฺโธ จ อกฺขาติ มีความว่า เป็นผู้ไม่มีความ
สงสัยบอกเล่า คือผู้บอกประกอบด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันสืบต่อกันตามลำดับ.
เทวทัตจะเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นชาวอบาย. เธอเป็นชาวนรก
ก็เหมือนกัน. เทวทัตจักตั้งอยู่ตลอดกัป (ในนรก) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.
บัดนี้ เทวทัต แม้พระพุทธเจ้าตั้งพันองค์ ก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะ
ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า อเตกิจฺโฉ ผู้อันพระพุทธเจ้าเยียวยาไม่ได้.
หลายบทว่า มา ชาตุ โกจิ โลกสฺมึ มีความว่า แม้ในกาล
ไหน ๆ สัตว์ไร ๆ อย่า (เกิด) ในโลกเลย.
บทว่า อุปปชฺชถ ได้แก่ เกิด.
บาทคาถาว่า ชลํว ยสสา อฏฺฐา มีความว่า เทวทัตตั้งอยู่ประหนึ่ง
ผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ.
บาทคาถาว่า ทวทตฺโตติ เม สุตํ มีความว่า แม้คำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงสดับแล้วว่า เทวทัตเป็นเช่นนี้ ก็มีอยู่, คำว่า เทวทัตตั้งอยู่
ประหนึ่งผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ นี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว หมายเอาคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับแล้วนั่นแล.